- มะละกอ
ส้มตำ
แกงส้มมะละกอกุ้ง
..........................................................................................................
กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยหอม,กล้วยน้ำว้า,กล้วยน้ำไท,กล้วยตานี,กล้วยหักมุก,กล้วยนาก บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบ
แบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็น
ลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้าย ปาร์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด(Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย ผล ใช้ทำกับข้าว แกงเผ็ดกล้วยแก่,ใช้เป็นผัก ใช้ทำเป็นขนมหวานเช่น กล้วยตาก,บวชชี,กล้วยเชื่อม กล้วยแขก,กล้วยปิ้ง,กล้วยทอด ใบ ใบตองใช้ได้สารพัดประโยชน์
....................................................................................................
มะม่วง มะม่วง
....................................................................................................
เงาะ เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 – 30? C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 – 85 % ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 – 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 – 30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ อกเงาะมี 2 ชนิด
คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น
....................................................................................................
ทุเรียน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบ แข็งและหนายาว สีเขียวแก่เป็นมัน ท้องใบเป็นสีน้ำตาล ปลายใบมีติ่งแหลมเรียว รูปไข่ยาว ดอก มีกลีบแข็งหนา ผล มีหนามแหลม เปลือกหนา เนื้อในสุกหวานหอม กลิ่นฉุนมากรับประทานเป็นผลไม้
การปลูก ปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย มีมากทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยใช้วิธีตอนกิ่งจะได้พันธุ์ตรงตามต้นแม่
สรรพคุณทางยา
- ใบ รสขม เย็นเฝื่อน สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง
- เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวาน ร้อน ทำให้ความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้ง และขับพยาธิ
- เปลือกลูก รสฝาดเฝื่อน สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝี ตาน ซาง คุมธาตุ แก้คางทูม และไล่ยุงและแมลง
- ราก รสฝาดขม แก้ไข้ และแก้ท้องร่วง
..............................................................................................
- มะพร้าว
ชื่อท้องถิ่น
- จันทบุรี เรียก ดุง
- กาญจนบุรี เรียก โพล
- แม่ฮ่องสอน เรียก คอส่า
- ทั่วไป เรียก หมากอุ๋น หมากอูน
- จีน เรียก เอี่ยจี้
- น้ำมันมะพร้าว
- กะลา นำมาเผาให้เป็นถ่านดำ แล้วนำมาบดเป็นผงละเอียด ผสมน้ำดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 0.5-1 ช้อนชา แก้ปวดกระดูกและเส้นเอ็น
- ดอก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ กล่อมเสมหะ บำรุงโลหิต และแก้ปากเปื่อย
- ราก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรืออมบ้วนปากแก้เจ็บคอ
- น้ำมันมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ใช้ทาบำรุงผม หรือทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน ทาผิวหนังแตกแห้ง แก้โรคผิวหนังต่างๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก โดยการเอาน้ำมันมะพร้าวมา 1 ส่วน ใส่ในภาชนะคน พร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วยจนเข้ากันดีใช้ทาบริเวณแผลบ่อยๆ
- น้ำมะพร้าว รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียน เป็นโลหิตและบวมน้ำ นอกจากนี้ยังทำเป็นน้ำส้มสายชูใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อมะพร้าวสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด หรือนำมาคั้นเอาน้ำกะทิประกอบอาหารคาวหวานได้หลากหลายชนิด เนื้อมะพร้าวประกอบไปด้วยน้ำมันถึง 60–65% ในน้ำมันมีกรดไขมันหลายชนิด เนื้อมะพร้าวหั่นฝอยใส่น้ำเคี่ยวหรือตากแห้ง แล้วเคี่ยวจะได้น้ำมันมะพร้าว ส่วนน้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารสูง รสหวาน หอม ชุ่มคอ ชื่นใจ ในน้ำมะพร้าว ยังมีน้ำตาล โปรตีน โซเดียม แคลเซียม โปแตสเซียม แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตก็ไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าว
คติความเชื่อ ตามตำราการปลูกต้นไม้ตามทิศในตำราพรหมชาติฉบับหลวง มะพร้าวเป็นไม้มงคลและกำหนดปลูกไว้ทาง ทิศตะวันออก (บูรพา) ด้วยความเชื่อว่าเมื่อปลูกไว้บริเวณบ้าน จะทำให้ไม่มีการเจ็บไข้ และอยู่เย็นเป็นสุข
.....................................................................................................
มังคุด (Mangosteen) เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ ลำต้นสูง 7-25 เมตร ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ในเอเชีย มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้"
ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก
ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอว์เบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้
มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก ปัจจุบันมีการเพาะปลูกและขายบนเกาะบางเกาะในหมู่เกาะฮาวาย ต้นมังคุดต้องปลูกในสภาพอากาศอบอุ่น หากอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 4 °C จะทำให้ต้นมังคุดตายได้
การบริโภคมังคุด ทำ ให้เราได้บริโภคกากใยจากเนื้อของมังคุดด้วย ซึ่งจะช่วยในการขับถ่ายและยังได้สารอาหารวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เปลือกมังคุดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยการใช้เปลือกสดหรือเปลือกแห้งฝนกับน้ำรับประทานหรือจะใช้เปลือกแห้งต้มกับน้ำรับประทานก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ปัจจุบันวงการเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้ให้ความสนใจนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่เปลือกมังคุด ที่ช่วยดับกลิ่นเต่า ช่วยบรรเทาโรคผิวหนัง รักษาสิวฝ้า ซึ่ง ใช้ได้ผลดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เมื่อได้ลิ้มรสของเนื้อในของมังคุดอย่างอิ่มเอมแล้วก็อย่าได้ทิ้งขว้าง เปลือกมังคุดให้เป็นขยะเน่าเหม็นโดยเปล่าประโยชน์เลย เปลือกมังคุดยังมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหาเร็ว เช่นใช้รักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย แผลเป็นหนอง โดยการใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผล น้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำล้างแผลใช้แทนการด้วยน้ำยาล้างแผลหรือด่างทับทิมได้ด้วย
เพราะเปลือกมังคุดนี้มีสารแทนนิน (Tannin) และสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวกับมังคุดว่า สารแมงโกสติน (mangostin) สารแทนนินมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแมงโกสตินมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง สารแซนโทนในเปลือกมังคุดยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลากได้อีกด้วย
......................................................................................................
ละมุด Manilkara achras Fosberg (สวา)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นพุ่มทึบ กิ่งก้าน แตกออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว ท้องใบมีสีน้ำตาลอมเขียว มักออกเป็นกระจุก ตามปลายกิ่ง ดอก ออกดอกเดี่ยว ตามง่ามกิ่ง กลีบรองดอกเรียงกัน เป็น 2 ชั้น กลีบดอกเชื่อมกันและยกตั้งขึ้น มี 6 กลีบ มีสีเหลืองนวล ผล เป็นรูปไข่ หรือรูปปลายข้างหนึ่งแหลมเล็กน้อย ผิวผลมีสีน้ำตาล ผลยังไม่สุกมียางสีขาว รสฝาด แข็ง เมื่อสุกจะนิ่ม หวาน ไม่มียาง มีเมล็ดรูปยาว รี ผิวสีดำฝังอยู่ในเนื้อ ผลละ 2-6 เมล็ด
ประโยชน์ : ใช้เป็นอาหาร ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ ทำไวน์ และทำน้ำละมุด คุณค่าทาง โภชนาการ ผลละมุดสุก มีน้ำตาลสูง มีวิตามินเอและซี มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่น ๆ ละมุดดิบ มียางสีขาวเหมือนน้ำนม มีสารที่ชื่อว่า "gutto" มีชัน สารฝาดสมานและอื่น ๆ ใช้เป็นยา ในฟิลิปปินส์ใช้ เปลือกของต้น ต้มดื่มแก้บิด ยาง ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิอย่า แรง เมล็ดเป็นยาบำรุง
มะปรางเป็นชื่อของผลไม้เมืองร้อนชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Anacardiaceae(มันอยู่ในวงศ์เดียวกับ มะม่วง มะกอก ฯลฯ ) ลำต้นมะปรางมีลักษณะที่ค่อนข้างแหลมและก็มีใบที่เยอะมากโดยใบของมันนั้นจะ ไม่มีการผลัดใบนอกจากนี้มันยังมีกิ่งก้านสาขาที่แตกแขนงจนทึบไปหมด ส่วนรากแก้วนั้นจะมีลักษณะที่ค่อนข้างแข็งแรงมากด้วยเหตุนี้มันจึงสามารถทน ความแห้งแล้งได้ดี ดอกของมะปรางจะออกเป็นช่อและก็มีสีเหลืองเมื่อบาน ผลของมะปรางจะมีขนาดพอๆกับไข่ของนกพิราบและก็มีสีเหลืองหรือสี เหลืองอมส้ม เวลาสุก
มะปราง มี 2 รส คือ หวานกับเปรี้ยว มะปรางหวาน ผลสุกมีรสหวานเย็น ผลยาวรี 1 กิโลกรัม มีประมาณ 9 – 20 ลูก มะปรางเปรี้ยว ผลสุกลูกมีขนาดใหญ่ หนึ่งกิโลกรัมมีประมาณ 5 – 15 ลูก สีผิวมีสีส้มชวนรับประทาน แต่รสชาติเปรี้ยวมากจนมีคนเก่าคนแก่ท่านกล่าว ไว้ว่า “ เปรี้ยวจนกาวาง ” แต่มะปรางเปรี้ยวผลดิบที่ยังอ่อน นิยมนำไปดองและแช่อิ่ม เป็นผลไม้แปรรูปที่ขึ้นชื่ออีกอย่างของนครนายก มะยง ผลไม้ที่มีรสชาติถึงสองรสในหนึ่งลูก นั้นคือ มีรสหวานอมเปรี้ยว หากรสมะยงชิด ไปทางหวาน มากกว่าเปรี้ยวจะเรียก “ มะยงชิด ” หากรส ชิดไปทางเปรี้ยวมากกว่าหวาน จะเรียก “ มะยง หรือมะยงห่าง ” ผลของมะยงจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวาน กลมมนกว่า หนึ่งกิโลกรัมละมีประมาณ 8 – 15 ลูก ราคาเฉลี่ย 150 – 350 บาท
....................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น