ความเป็นมาของอาหาร

ในที่นี้จะรวบรวมเป็นอาหารไทยเสียส่วนใหญ่

อาหาร
คือ สิ่งที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อาหารมีทั้งที่มาจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เกลือ น้ำ และสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์
อาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

* อาหารคาว คือ อาหารที่ทานกับข้าวสวยหรือข้าวเหนียว เช่น ผัด แกง ต้ม
* อาหารหวาน คือ ของว่างที่รับประทานหลังจากรับประทานอาหารคาวเสร็จแล้ว เช่น ขนมต่างๆ
รสชาติ
หมายถึง ลักษณะเฉพาะของอาหารที่รับรู้ได้ด้วยลิ้น รสชาติจำเป็นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่

1. รสชาตินั้นจะต้องแตกต่างไปจากรสชาติอื่นๆอย่างสิ้นเชิง เช่น รสหวานไม่เหมือนรสเปรี้ยว
2. รสชาตินั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผสมรสชาติชนิดอื่นๆ เช่น เกลือผสมน้ำตาลไม่ทำให้เกิดรสขม
3. รสชาตินั้นจะต้องเป็นรสชาติที่เกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบที่อยู่ในอาหาร เช่น รสเค็มเกิดจากเกลือแกง รสหวานเกิดจากน้ำตาล รสเปรี้ยวเกิดจากน้ำส้มสายชู รสขมจากมะระ และรสอูมามิเกิดจากโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส)
นอกเหนือไปจากคุณสมบัติ 3 ประการของรสชาติแล้ว การมีอยู่จริงของรสชาติแต่ละชนิดสามารถยืนยันได้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายชนิด เช่น ตัวรับรสชาติ (Taste Receptor) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญบนผิวเซลล์ที่สามารถจับตัวกับสารให้รสชาติอย่างจำเพาะเจาะจงแล้วส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อบอกว่ากำลังรับประทานอาหารที่มีรสชาติเป็นอย่างไร

ในตำราสมุนไพรไทยโบราณได้ระบุไว้ว่ารสชาติมี 9 ชนิด ได้แก่ รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม รสขม รสฝาด รสมัน รสเผ็ดร้อน รสหอมเย็น และรสเมาเบื่อ และอาจเพิ่มรสจืด (ไม่มีรสชาติ) เป็นรสชาติที่ 10 ก็ได้
รสเค็ม
รสชาดอาหารไทย ได้จากไหน

อาหารไทย เป็นอาหารที่มีรสชาติกลมกล่อม ซึ่งนอกจากวัตถุดิบหลากหลายที่ใช้ในการปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผักและสมุนไพรต่างๆแล้ว เครื่องปรุงรสยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องปรุงรสที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  • รสเค็ม
จากน้ำปลาเป็นส่วนใหญ่ การประกอบอาหารไทยเกือบทุกชนิด ถ้าต้องการรสเค็มแล้ว
จะขาดน้ำปลาไม่ได้เลย สังเกตจากเวลารับประทานอาหาร จะต้องมีถ้วยน้ำปลาเล็ก ๆ รวมอยู่ในสำรับอาหารแต่บางครั้งนอกจากน้ำปลาแล้วยังใช้เกลือหรือซีอิ๊วขาวเป็นตัวปรุงรสอาหารให้เกิดความเค็ม

  • รสหวาน

การประกอบอาหารไทยรสหวาน โดยทั่วไปในอาหารไทยใช้น้ำตาลทรายในการประกอบอาหารแล้ว ยังมีน้ำตาลอีกหลายชนิด เช่น น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลโตนด น้ำตาลงบ ฯลฯ

  • รสเปรี้ยว
อาหารไทยนอกจากจะได้จากน้ำส้มสายชู แล้วยังมีมะนาว และที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันมาก โดยที่
ประเทศอื่น ๆ ไม่มีใช้ก็คือ ความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มมะขามเปียก น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า นอกจากนั้นรสเปรี้ยวจากใบมะขามอ่อน ใบมะดัน ใบส้มป่อย มะดัน ซึ่งรสเปรี้ยวจากสิ่งเหล่านี้มีแต่ในอาหารไทย

  • รสเผ็ด
รสชาติอาหารของประเทศใดก็ไม่เผ็ดร้อนเหมือนอาหารไทย รสเผ็ดที่ได้จากอาหาร มาจากพริกขี้หนูพริกชี้ฟ้าสด เรายังนำมาตากแห้งเป็นพริกแห้ง คั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น รสเผ็ดเป็นรสที่อาหารไทยจะขาดไม่ได้ในการประกอบอาหารคาวชนิดที่ต้องมีรสเผ็ด การจะใส่พริกมากน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการรส
ของผู้บริโภค

  • รสมัน

อาหารไทย ได้รสมันจากกะทิและน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ในการประกอบอาหารไทยโดยเฉพาะอาหารประเภทแกงกับขนมไทย ความมันที่ได้จะมาจากแกงที่ใส่กะทิ เช่นแกงหมูเทโพ แกงเขียวหวาน ขนมชั้น ตะโก้ ฯลฯ ฉะนั้นรสชาติของอาหารไทย จึงมีความกลมกล่อมจากรสชาติต่าง ๆ

กะทิ
เนื้อมะพร้าวมักไม่ค่อยนิยมใช้ในการประกอบอาหาร ยกเว้นแต่นำไปทำขนมหวานหรือไม่ก็เพื่อตกแต่งอาหารให้น่ารับประทาน แต่น้ำกะทิที่ ได้จากมะพร้าว (ไม่ใช่น้ำมะพร้าว) ถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดในการประกอบอาหารไทย กะทิมักจะใช้ในการประกอบอาหารประเภทแกงต่างๆ, อาหารประเภทผัด (เช่น ผัดพริกแกง)และต้ม (เช่น ต้มข่าไก่)ในบางครั้งก็มีการใส่กะทิด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังนิยมนำกะทิไปทำขนมไทยหลายๆประเภทอีกด้วย ความหวานของน้ำกะทิเป็นการผสมผสานของกลิ่นที่หอมหวนและรสหวานที่ไม่เหมือน น้ำตาลปกติ ในท้องตลาดทั่วไป กะทิสามารถหาซื้อได้ทั้งในรูปแบบน้ำและแบบผง สำหรับกะทิสดนั้นได้มาจากเนื้อมะพร้าว โดยนำเนื้อมะพร้าวไปบดให้ละเอียดโดยเครื่องปั่นอเนกประสงค์ไฟฟ้า และนำมาคั้นเอาน้ำออกจากเนื้อมะพร้าว

ขั้นตอนการทำน้ำกะทิ 750 มิลลิลิตร ต้องมีเนื้อมะพร้าวซึ่งบดละเอียดแล้วในปริมาณ 500 กรัม จากนั้นใส่น้ำอุ่น 500 มิลลิลิตรลงไปเนื้อมะพร้าวบดละเอียด แล้วจึงนำไปบีบและขยำด้วยมือประมาณ 10 นาที หรือนานกว่านี้เพื่อให้ได้ปริมาณกะทิที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อน้ำกับเนื้อมะพร้าวผสมเข้ากันดีแล้ว จึงเทใส่ผ้าขาวบาง และบีบแยกเอาน้ำกะทิออกจากเนื้อมะพร้าว จากนั้นให้วางน้ำที่คั้นได้ไว้นิ่งๆประมาณ 10 นาที หัวกะทิและหางกะทิจะแยกตัวเป็นชั้นออกจากกัน สำหรับหัวกะทินั้นจะมีความมัน และข้นมากกว่าหางกะทิ

สำหรับ กะทิสำเร็จรูปที่อยู่บรรจุอยู่ในกระป๋องนั้น ต้องเขย่ากระป๋องสักพักก่อนที่จะเปิดใช้งาน สำหรับวิธีแยกหัวและหางกะทิที่ง่ายไม่ลำบากอีกวิธีหนึ่งก็คือนำน้ำกะทิไปแช่ ในช่องแช่แข็งประมาณ 10 นาที ก็จะได้ชั้นของหัวและหางกะทิที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน สำหรับกะทิสำเร็จรูปในท้องตลาดนั้น ปัจจุบันสามารถหาซื้อกะทิชนิดผง โดยนำมาผสมน้ำในอัตราส่วนที่กำหนด ก็สามารถใช้แทนกะทิสดได้อย่างดี
อาหารไทย : แกงเขียวหวานไก่

อาหารไทยกลาย เป็นอาหารที่นิยมทั่วโลกเนื่องจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานอย่างกลมกล่อมของรสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม นอกจากนั้นยังมีรสเผ็ดร้อนของพริกที่เพิ่มรสชาติอาหารไทยให้เป็นที่นิยมของ ชนทุกชั้น ทั้งคนไทยและผู้บริโภคชาวต่างชาติทั่วโลก
อาหารไทยได้ รวบรวมสุดยอดศิลปะการปรุงอาหารของชาวเอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหารแบบซีฉวนของจีน, การปรุงอาหารเขตเมืองร้อนของชาวมาเลย์, การปรุงอาหารด้วยกะทิอันมีต้นกำเนิดจากอินเดียตอนใต้ และ การใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารของชาวอาราเบีย ศิลปะการปรุงอาหารไทยที่มีต้นกำเนิดจากการผสมผสานของศิลปะการปรุงอาหารที่ หลากหลายเหล่านี้ได้รับการประยุกต์โดยใช้ สมุนไพรพื้นเมืองที่สมบูรณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ผักชี, พริก, พริกไทย, เครื่องเทศอื่นๆ ผลที่ได้คือรูปลักษณ์อาหารที่ชวนให้น่า้รับประทาน ขณะที่ใช้เนื้อสัตว์ปรุงอาหารในปริมาณจำกัด และเน้นคุณค่าของสมุนไพรและผักสดต่างๆ ทำให้อาหารไทยอร่อยทั้งรสชาติ, สารอาหารครบถ้วนและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค
การปรุงอาหารไทยจะใช้ วิธีการปรุงที่สั้นและรวดเร็ว ทำให้พืชผักและสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหารยังคงมีสีสันสวยงาม กรอบ และไม่เสียรสชาติดั้งเดิม รวมถึงสิ่งที่สำคัญคือคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ยังคงครบถ้วน ส่วนประกอบหลักของการปรุงอาหารไทยได้แก่ พืชผัก สมุนไพรพื้นเมืองต่งๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมต่างจากอาหารของชนชาติอื่นๆแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาตามตำรับแพทย์แผนไทยของสมุนไพรและผักต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งส่งผลให้ชาวต่างชาติรู้ถึงประโยชน์ และกล่าวขานถึงอาหารไทยที่นอกจากจะเด่นในเรื่องรสชาติแล้ว ยังเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย

อาหารไทยหนึ่ง มื้อจะประกอบด้วยการผสมผสานอาหารหลายๆประเภทในมื้อเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแกง, น้ำแกง, กับข้าวประเภทผัด, น้ำพริก เครื่องจิ้มผักสด และยำประเภทต่างๆ ซึ่งรสชาติอาหารเหล่านี้จะมีทั้งเผ็ดร้อนและกลมกล่อมผสมผสานกัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกตามความพอใจ

อุปกรณ์การทำอาหารไทย

การประกอบอาหารไทยนั้น ง่าย และไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ หรือเครื่องครัวอะไรมากมาย หม้อหรือกระทะสักสองสามใบในครัวเรือนก็เพียงพอที่จะทำอาหารไทยได้แล้ว อย่างไรก็ดี การประกอบอาหารไทยก็มีเครื่องครัวสำคัญที่จำเป็นต้องมี หรือขาดไม่ได้ เหมือนกัน

การทำอาหารไทยเกี่ยว ข้องกับการทำเครื่องแกงบ่อยครั้ง ซึ่งการผสมเครื่องแกงให้เข้ากันอย่างสมบูรณ์นั้น จำเป็นต้องมีเครื่องครัวที่เรียกว่า สาก+ครก (Mortar + Pestle) สาก+ครก นั้นมักจะทำจากหินแกรนิตที่มีน้ำหนักมาก นำมาปรับแต่งรูปทรงให้ได้เหมาะตามรูปทรงมาตรฐาน ซึ่งโดยทั่วไปคนไทยก็มักจะมี สาก+ครก อย่างน้อยหนึ่งชุดติดครัวไว้เพื่อประกอบอาหาร ในกรณีที่ท่านไม่มีเครื่องครัวชนิดนี้ เครื่องปั่นอเนกประสงค์ไฟฟ้าก็สามารถใช้ทดแทนกันได้ชั่วคราว สาก+ครกที่ทำจากหินมักจะใช้ในการผสมเครื่องแกงให้เข้ากัน ขณะที่ สาก+ครก ซึ่งทำจากไม้มักจะใช้ประกอบอาหารไทยประเภทตำ + ยำ เช่นส้มตำ (Papaya Salad) อาหารที่คนทั่วโลกรู้จักกันดี
เครื่องครัวที่สำคัญ ใช้กันบ่อย และเป็นที่รู้จักกันอย่างดีน่าจะเป็นกระทะ ถ้าคุณคิดที่จะซื้อเครื่องครัวอะไรสักอย่างสำหรับประกอบอาหารไทย สิ่งแรกที่คุณก็ควรจะซื้อก็คือกระทะนั่นเอง กระทะสามารถประยุกต์ใช้ในการประกอบอาหารได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการผัด การต้ม การทอด หรือแม้กระทั่งการนึ่ง จริงๆแล้วรูปทรงกระทะมีคุณสมบัติในการกระจายความร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะสมอย่างมากกับการประกอบอาหารประเภทผัด

กระทะนั้นมีทั้งที่ผลิตจากเหล็ก, อลูมิเนียม และทองเหลือง โดยทั่วไปครัวตามร้านอาหาร หรือโรงแรมมักนิยมใช้กระทะที่ทำจากเหล็กในการปรุงอาหาร อย่างไรก็ดีสำหรับกระทะเหล็กนั้น มีเคล็ดลับที่สำคัญก่อนการใช้กระทะใหม่ ขั้นตอนนี้เรียกว่า การเปิดกระทะ โดยกระทะเหล็กอันใหม่ที่เพิ่งซื้อมาจะต้องนำไปอังไฟจนแดงและชโลมด้วยน้ำมัน ที่หน้ากระทะ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะจะเป็นการสร้างฟิล์มน้ำมันที่ผิวหน้าของกระทะ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารติดกระทะในระหว่างการผัด ขั้นตอนนี้สำคัญมากและต้องทำหลายๆครั้ง ซึ่งหลังจากการเปิดกระทะแล้ว การบำรุงรักษาเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากปรุงอาหารเสร็จ ควรล้างด้วยน้ำเปล่าหรือสบู่อ่อนๆ กับฟองน้ำเท่านั้น เพื่อไม่ให้ฟิล์มน้ำมันที่ติดอยู่บนผิวกระทะหลุดลอกออกไป

กระทะ นั้นมีหลายขนาดให้เลือก ในขั้นตอนการเลือกซื้อนั้น คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารที่ปรุงเป็นประจำ ถ้าจำนวนสมาชิกครอบครัวไม่มากและปรุงอาหาร สำหรับรับประทานภายในครัวเรือนเท่านั้น ขนาดกระทะก็ไม่ควรจะใหญ่จนเกินไป เคล็ดลับที่ควรรู้คือ ถ้าคุณปรุงอาหารจำนวนที่ไม่มากในกระทะขนาดที่ใหญ่เกินไป จะส่งผลให้อาหารถูกความร้อนสูงที่เกิดจากผิวกระทะที่กว้าง อาหารจะแห้งและไหม้เร็วกว่าปกติ ในขณะเดียวกัน ถ้าปรุงอาหารในปริมาณที่มากกับขนาดกระทะที่เล็กเกินไป ก็จะส่งผลให้อาหารไม่ได้สัมผัสกับผิวกระทะที่ร้อนในปริมาณที่พอเหมาะ อาหารจึงสุกช้ากว่าที่ควรจะเป็น ด้ามจับกระทะที่เป็นไม้ช่วยให้สามารถจับกระทะในขณะที่ปรุงอาหารได้ง่าย แต่ถ้าเป็นกระทะที่ไม่มีด้ามไม้หรือมีด้ามเป็นเหล็ก การจับกระทะอาจต้องใช้ถุงมือหรือผ้าอื่นๆช่วย
เครื่องครัวอื่นๆที่จำเป็นในการประกอบอาหารไทย ได้แก่ ซึ้ง (Steamer) ซึ้งมักใช้ในการปรุงอาหารประเภทนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการนึ่งข้าวเหนียว (Sticky Rice) หรือการนึ่งปลา และนึ่งผักต่างๆสำหรับการรับประทานกับน้ำพริก ”ซึ่ง “ มีหลายชนิด ไม่ว่าจะผลิตจากอลูมิเนียม ซึ่งมีแบบชั้นเดียวหรือหลายชั้น นอกจากนั้นยังมี “ซึ้ง” ที่ทำจากไม้ไผ่ แต่ภาชนะด้านใต้ทำจากโลหะ ซึ้งไม้ไผ่ราคาถูกกว่าซึ้งอลูมิเนียม แต่ในการบำรุงรักษาจำเป็นต้องมีการผึ่งแดดให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันเชื้อรา และการเสียรูปทรงของซึ้ง
ทัพพีในการปรุงอาหารไทยนั้น สามารถใช้ในขั้นตอนการผัดอาหาร ขอบที่กลมทำให้การผัดทำได้ง่าย และไม่ทำลายฟิลม์น้ำมันที่ติดอยู่บนหน้ากระทะ นอกจากนั้นทัพพียังสามารถใช้กวนในขั้นตอนการต้ม ปรุงแกงหรือน้ำแกงได้อีกด้วย

นอก จากเครื่องครัวที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว คุณสามารถที่จะประยุกต์ใช้เครื่องครัวที่คุณมี เพื่อทดแทนเครื่องครัวหลักในการปรุงอาหารไทยได้ หลังจากที่คุณทราบถึงแก่นแท้ในการปรุงอาหารไทยแล้ว คุณจะรู้ว่าเครื่องครัวชนิดใดเหมาะกับการปรุงอาหารประเภทใด และเครื่องครัวชนิดใดที่คุณสามารถใช้แทนเครื่องครัวที่คุณไม่มี อย่างเช่น คุณสามารถใช้กระทะต้มน้ำแกง แทนที่จะใช้แต่หม้อต้มน้ำแกง เป็นต้น

การปรุง อาหารไทย

การดำรงชีวิตของคนไทยนั้นจะไม่เร่งรัด ไม่รีบร้อน ปล่อยตัวตามสบาย ซึ่งส่งผลไปยังวิถีการปรุงอาหารของคนไทยที่ไม่เร่งรัด ง่ายๆ แต่พิถีพิถัน ที่สำคัญเวลาปรุงอาหารไทยค่อนข้างนาน

รสชาติของอาหารไทยเกิดจากการปรุงรสอย่างกลมกล่อมของเครื่องปรุงและวัตถุดิบ หลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรต่าง ๆ (ใบกะเพรา, พริก, ผักชี, ขิง, กะทิ, กระเทียม, หอมแดง, ใบมะกรูด, น้ำปลา และซิอิ๊ว เป็นต้น) ในการปรุงอาหารไทย มักจะใช้น้ำมันในการทำอาหารในปริมาณที่น้อย และผ่านการปรุงอย่างรวดเร็ว เพื่อคงไว้ถึงรสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุง ซึ่งวิธีการปรุงอาหารไทยหลักๆ มีรายละเอียดดังนี้

การปรุงอาหารด้วยวิธีการผัด ( STIR-FRYING ) : วิธี นี้เป็นวิธีปรุงอาหารที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ถ้าคุณไม่มีกระทะหลุมแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป กระทะแบนสำหรับทอดก็สามารถใช้แทนกันได้ ก่อนการผัดทุกครั้งจะต้องตั้งไฟจนกระทะร้อนได้ที่ก่อนจะใส่วัตถุดิบ (เนื้อสัตว์ หรือ ผัก) ลงไปในกระทะ ในการผัดนั้น นิยมใช้ตะหลิว (ทั้งที่ทำจากโลหะ หรือไม้) เพื่อกลับอาหารในกระทะอย่างรวดเร็ว เมื่ออาหารสุก รีบปรุงรสและนำออกจากกระทะและเสิรฟขณะที่อาหารยังร้อนๆ เนื่องจากขั้นตอนการผัดนั้นมักจะใช้เวลาสั้น วัตถุดิบต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอาหารประเภทนั้นจะต้องถูกเตรียม ให้พร้อมก่อนเริ่มการผัด ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อทำการผัดอาหารแล้วจะได้อาหารที่สุกพอดี ไม่ไหม้จากการที่ต้องเสียเวลาเตรียมวัตถุดิบอื่นๆขณะที่ผัดอาหาร เคล็ดลับที่สำคัญในการผัดอาหารทะเลนั้น เวลาผัดจะต้องใช้ไฟสูง และผัดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผิวด้านนอกของอาหารทะเลสุก ขณะที่ภายในยังนุ่ม (ปรุงงเกือบสุก - จะได้รสชาติดีที่สุด) อาหารทะเลที่ปรุงสุกเกินไปจะรสชาติไม่อร่อย ผิวแข็ง และกระด้าง

การปรุงอาหารด้วยวิธีการตุ๋น(ต้มนานๆ) ( STEWING ) : การตุ๋นจะช่วยรักษาคุณประโยชน์ของสารอาหารไว้ได้เกือบครบถ้วน โดยสารอาหารที่สำคัญจากเนื้อสัตว์ ผักและสมุนไพรต่างๆ จะยังคงอยู่ในน้ำที่ตุ๋นอาหาร เนื้อสัตว์ที่หยาบกระด้างเมื่อผ่านการตุ๋นแล้วจะทำให้เนื้อนุ่มน่ารับประทาน ในการตุ๋นอาหารโดยทั่วไป เนื้อสัตว์มักจะถูกหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดใกล้เคียงกัน และเติมน้ำลงไปพอท่วมเนื้อ และใส่ในหม้อต้มปิดด้วยฝาที่สนิท ตั้งไฟอ่อนๆ เพื่อค่อยๆตุ๋นให้วัตถุดิบภายในสุกอย่างช้าๆ น้ำที่ได้จากการตุ๋นสามารถใช้เสิรฟกับอาหารในลักษณะน้ำราดได้อีกด้วย

การปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ( STEAMING ) : ในการปรุงอาหารด้วยวิธีนึ่งนั้น อาหารจะถูกปรุงให้สุกโดยใช้ไอน้ำที่เกิดจากการต้มน้ำภายใต้อาหารนั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นอาหารจะไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับน้ำที่ต้ม ซึ่งจะส่งผลให้คุณค่าของสารอาหารยังคงอยู่กับอาหารอย่างครบถ้วน และที่สำคัญในการนึ่งนั้นแทบจะไม่ต้องเติมน้ำมันลงไปในการนึ่งเลย ทำให้การนึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เคล็ดลับที่สำคัญสำหรับการนึ่งอาหารให้รสชาติดีนั้น วัตถุดิบที่ใช้จะต้องสดมากๆ การนึ่งอาหารโดยทั่วไปจะต้องมีจานที่สามารถทนความร้อน (ทำจากเซรามิก, แก้ว, กระเบื้องก็ได้ ไม่แนะนำให้ใช้จานที่ทำจากพลาสติกหรือเมลามีน) และต้องมีซึ้ง (Steamer) โดยใส่น้ำต้มให้เดือดและนำอาหารที่ต้องการนึ่งวางบนจานทนความร้อนและใส่เข้า ไปในซึ้ง และปิดฝาให้สนิท

การปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด ( DEEP FRYING ) : วิธีการทอดนั้นจะทำให้อาหารสุกโดยการใส่เนื้อสัตว์หรือผักลงไปในน้ำมันที่ ตั้งจนร้อน ปริมาณน้ำมันที่ใส่จะต้องมากพอที่จะท่วมอาหารที่จะนำไปทอด การทอดนั้นนิยมทอดในกระทะแบบหลุมหรือกระทะชนิดแบนก็ได้ อุณหภูมิของน้ำมันที่ใช้ในการทอดเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการปรุงอาหาร ถ้าน้ำมันไม่ร้อน เมื่อใส่อาหารลงไปทอด จะส่งผลให้อาหารอมน้ำมันและไม่น่ารับประทาน ขณะเดียวกันถ้าอุณหภูมิน้ำมันสูงเกินไป อาหารที่นำไปทอดก็จะไหม้ อุณหภูมิน้ำมันที่เหมาะสำหรับการทอดอยู่ที่ 180 องศาเซลเซียส (หรือประมาณ 350 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อทอดเสร็จแล้วควรสะเด็ดน้ำมันออกจากอาหารที่ทอด ตะแกรงลวดโลหะเป็นที่นิยมใช้ในการสะเด็ดน้ำมัน นอกจากนั้นกระดาษซับน้ำมันก็สามารถใช้ดูดซับน้ำมันออกจากอาหารที่ทอดได้ อาหารที่ผ่านการสะเด็ดน้ำมันเป็นอย่างดีจะช่วยคงความกรอบให้ยาวนานขึ้นอีก ด้วย

การปรุงอาหารด้วยวิธีการย่าง ( GRILLING ) : การ ปรุงอาหารด้วยวิธีการย่างนั้น จะนำอาหารที่ต้องการปรุงให้สุก วางไว้บนไฟหรือความร้อน ซึ่งอาจเป็นเตาถ่าน, เตาไฟฟ้า บางครั้งอาจใช้เตาอบ หรือตั้งกระทะไว้บนไฟในการย่างอาหารก็ได้ ในการย่างอาหารไทยนั้น อาหารอาจถูกย่างโดยตรงกับไฟ หรืออาจห่อด้วย ใบไม้หรือฟลอยส์อลูมิเนียม สำหรับใบไม้ที่นิยมใช้นั้นก็มีใบตอง และใบเตย ซึ่งอาหารที่ห่อและนำไปย่างจะมีกลิ่นหอม ชวนน่ารับประทาน การย่างที่ถูกต้องนั้น จะต้องมีการกระจายความร้อนให้ทั่วอาหารเพื่อไม่ให้อาหารไหม้ ดังนั้นการกลับหน้าอาหารจึงมีความจำเป็น เคล็ดลับการย่างเนื้อสัตว์ให้อร่อยต้องย่างให้ผิวภายนอกให้สุก และพยายามให้เนื้อภายในเกือบสุก ด้วยวิธีนี้จะได้เนื้อที่นุ่ม ไม่หยาบกระด้าง และน่าทานเป็นอย่างมาก

การปรุงอาหารด้วยวิธีการยำ ( SALADS ) : อาหารที่ปรุงด้วยวิธีการยำนั้น จำเป็นต้องเน้นรสชาติที่จัด และ เน้นเครื่องปรุง วัตถุดิบที่สดมากๆ รสชาติอาหารยำจะเป็นการผสมผสานกันของรสเปรี้ยว, รสเค็ม และรสเผ็ดร้อนของพริก ขณะที่การเพิ่มรสหวานนิดหน่อยจะช่วยทำให้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น สำหรับรสชาติของอาหารยำนั้นสามารถปรับได้ตามประเภทของอาหาร ในขั้นตอนการยำ วัตถุดิบต่างๆจะถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปลวกน้ำร้อนอย่างรวดเร็ว ในการคลุกวัตถุดิบและเครื่องปรุงเข้าด้วยกัน ต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นอาหารจะเละ ไม่น่ารับประทาน เมื่อยำอาหารเสร็จแล้ว ต้องรีบเสิรฟทันที อาหารที่ยำเสร็จแล้วปล่อยทิ้งๆไว้นานๆรสชาติของอาหารจะไม่อร่อย เนื่องจากวัตถุดิบที่อยู่ในอาหารจะดูดน้ำยำไปจนหมด ทำให้เสียรสชาติเดิมที่ยำเสร็จใหม่ๆ

การปรุงอาหารด้วยวิธีการต้ม

อาหารหลักของคนไทย
  • ข้าว
สำหรับอาหารไทยนั้น ข้าวถือเป็นอาหารหลัก ข้าวให้คุณค่าสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย นอกจากนั้นข้าวยังให้วิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอีกมากมาย ข้าวมีหลายประเภทด้วยกัน ทั้งชนิดเมล็ดยาว และเมล็ดสั้น บางประเภทมีสีขาว, สีแดง หรือสีดำ ข้าวสวยมักจะนิยมทานกันในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ผู้คนนิยมบริโภคข้าวเหนียว (Glutinous or Sticky rice) นอกจากนั้นข้าวเหนียวยังนิยมนำมาทำเป็นของว่างและขนมไทยอีกด้วย

ข้าวสาร : ในการหุงข้าวสารโดยไม่ใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้านั้น สัดส่วนการตวงระหว่างน้ำกับข้าวสารจะอยู่ที่ ข้าวสาร 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน จากนั้นจึงนำไปใส่หม้อต้มให้เดือด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที ทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาในการหุงอาจแตกต่างได้ในกรณีที่ข้าวที่ใช้หุงเป็นข้าว เก่า หรือข้าวใหม่ และปริมาณที่หุงต่อครั้งก็ส่งผลต่อเวลาในการหุงด้วยเช่นกัน เมื่อต้มได้ 10 – 15 นาทีแล้ว ก็นำฝาหม้อมาปิด (ปิดไม่ต้องสนิท เปิดทิ้งไว้นิดหน่อย) และลดไฟลงให้น้ำในหม้อค่อยแห้งลง ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 5-10 นาที โดยจะสังเกตได้จากข้าวที่อยู่ข้างบนถ้าสุกดีแล้ว ข้างล่างก็จะสุกเช่นเดียวกัน ข้อควรระวังคือเมื่อน้ำแห้งหมดแล้วต้องระวังข้าวในก้นหม้อไหม้

ข้าวเหนียว
: คนไทยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมรับประทานข้าวเหนียวมากกว่า ข้าวสวย สำหรับการนึ่งข้าวเหนียวนั้น ข้าวเหนียวจะต้องนำไปล้างน้ำและแช่ไว้หลายชั่วโมง (ประมาณหนึ่งคืน) ก่อนจะนำไปนึ่ง ให้เทน้ำออกใส่หวด โดยหวดจะกรองน้ำออกจากข้าวเหนียวที่แช่ไว้ กรณีที่ตา (รู) ของหวดมีขนาดใหญ่ อาจจำเป็นต้องรองด้วยผ้าขาวบางก่อนที่จะเทข้าวเหนียวที่แช่น้ำใส่ลงไป จากนั้นจึงนำหวดไปตั้งบนหม้อที่ต้มน้ำไว้แล้ว เมื่อน้ำเดือดข้าวเหนียวที่อยู่ในหวดเหนือหม้อต้มก็จะเริ่มสุกอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มสังเกตเห็นไอน้ำผ่านขึ้นมาจากข้าวเหนียวในหวด จะต้องหาฝามาปิดหวดและทิ้งไว้อย่างนั้นประมาณ 5 นาที จากนั้นก็ลองดูว่าข้าวเหนียวนุ่มหรือยัง ถ้ายังไม่นุ่มก็ให้เอาฝามาปิดหวดไว้อีกสักพักแล้วจึงตรวจดูว่าข้าวเหนียวสุก ดีหรือยัง

เมื่อ ข้าวเหนียวสุกดีแล้ว จึงปิดไฟแล้วนำข้าวเหนียวมาใส่บนถาด ใช้ช้อนแผ่ข้าวเหนียวออกเพื่อให้ไอน้ำที่ยังร้อนออกจากข้าวเหนียวที่สุก ถ้าไม่ทำเช่นนี้ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกจะแฉะและไม่น่ารับประทาน

ก๋วยเตี๋ยว

สำหรับอาหารไทย มีเส้นก๋วยเตี๋ยวหลาย ชนิดด้วยกัน ขนาดของเส้นก็ต่างกันด้วยไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก, เส้นใหญ่, เส้นหมี่ ฯลฯ นอกจากนั้นเส้นก๋วยเตี๋ยวยังสามารถแยกเป็นประเภทเส้นที่ผลิตสดใหม่ๆ และชนิดแห้ง (ซึ่งต้องนำไปแช่น้ำก่อนประกอบอาหาร) ขณะเดียวกันเส้นก๋วยเตี๋ยวยังทำมาจากวัตถุดิบที่ต่างชนิดกันด้วย เช่น ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า, แป้งข้าวสาลี หรือถั่วเขียว (mung bean)
ในกรณีที่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดแห้ง (Dried Noodles) ก่อนนำมาประกอบอาหาร จำเป็นต้องนำเส้นก๋วยเตี๋ยวไปแช่ในน้ำประมาณ 15-20 นาทีก่อนใช้งาน จากนั้นจึงสามารถนำไปผัดได้ กรณีที่จะนำไปใส่ในแกงจืด ก็นำเส้นก๋วยเตี๋ยวไปแช่ในน้ำประมาณสองนาทีก็พอ กรณีที่ต้องการใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดแห้งด่วนสามารถนำเส้นไปแช่ในน้ำร้อน ประมาณ 3-5 นาทีแล้วนำเส้นไปแช่ในน้ำเย็น เพื่อไม่ให้เส้นก๋วยเตี๋ยวเละ ขณะเดียวกันถ้าใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตสดใหม่ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องนำไปแช่น้ำก่อนนำมาประกอบอาหารแต่อย่างใด สำหรับเส้นหมี่ที่ต้องการนำไปทอดกรอบ ก็ไม่จำเป็นต้องแช่น้ำ สามารถนำไปทอดได้ทันที

วุ้นเส้น

ที่ใช้ประกอบอาหารนั้น โดยปกติจะทำจากถั่วเขียว ก่อนนำไปประกอบอาหารต้องนำแช่ในน้ำประมาณ 5 นาที แต่ถ้าจะนำวุ้นเส้นไปทำยำ (ยำวุ้นเส้น) จำเป็นจะต้องนำวุ้นเส้นไปลวกในน้ำร้อนและนำไปแช่น้ำเย็น (เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเละ) จากนั้นจึงค่อยนำไปทำยำต่อไป

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29/1/52

    ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ24/2/53

    ดีใจที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารของไทย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ4/10/53

    ่้้ัรนนยส

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ4/10/53

    ดีใจที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารของไทย ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ